ระบบ api กับโลจิสติกส์ การเชื่อมต่อที่ทำให้การขนส่งก้าวไกลกว่าเดิม

api

การใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่มีความทันสมัย มาผสมผสานกับการทำงานทางด้านโลจิสติกส์นี้ ทำให้มีการวางระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องของการจัดการข้อมูลการส่งสินค้า, การรับสินค้า ตลอดจนการให้บริการที่เกี่ยวกับการขนส่งอย่างครบ ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับวงการโลจิสติกส์ในปัจจุบันนี้ได้ ก็คือการใช้ระบบ apiเข้ามาช่วย ซึ่งเราจะมาอธิบายให้คุณเข้าใจอย่างชัดเจนว่าระบบการเชื่อมต่อนี้คือระบบอะไร และนำไปประยุกต์ ให้เข้ากับการดำเนินงานเบื้องหลัง และเบื้องหน้าของโลจิสติกส์ได้อย่างไร

ระบบ api ระบบการเชื่อมต่อที่รันทุกวงการ

ระบบ api นี้ ซ่อนตัวอยู่ในทุกหนทุกแห่งอย่างที่คุณอาจจะไม่เคยรู้ตัวมาก่อนเลย สำหรับระบบการเชื่อมต่อนี้เป็น องค์ประกอบที่สำคัญของแพลตฟอร์มในหลาย ๆ วงการ ทำให้ในปัจจุบันนี้มีระบบ api ที่แตกต่างกันไปมากกว่า 19,000 รายการ ซึ่งนำไปใช้ได้กับเทคโนโลยีเกือบทุกประเภทเลยทีเดียว เช่น นำไปใช้กับการเงิน, นำไปใช้ในการส่งข้อความในโซเชียล, ใช้ในการชำระเงิน, ใช้ในวงการบิทคอยน์ และอื่น ๆ แน่นอนว่ามี api ที่นำมาใช้กับกระบวนการขนส่งโลจิสติกส์เช่นกัน ระบบการเชื่อมต่อนี้เป็นหนึ่งในระบบที่เติบโตเร็วที่สุด ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำหน้าที่แบ่งปันวิเคราะห์ข้อมูลในแอปพลิเคชันต่าง ๆ หน้าที่หลักคือการเชื่อมต่อโลกออนไลน์หรือเชื่อมการทำงานของแอปพลิเคชันต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เบื้องหลังการทำงานของแอปพลิเคชันเหล่านี้สามารถสื่อสารกันได้อย่างเต็มที่

Api กับการทำงานภาคโลจิสติกส์

ระบบการเชื่อมต่อนี้ยังถูกนำมาใช้งานในภาคธุรกิจโลจิสติกส์อีกด้วย ยิ่งในปัจจุบันนี้โลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายอันยิ่งใหญ่ จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 จึงทำให้ผู้คนหยุดอยู่บ้านมากขึ้น เดินทางน้อยลง แต่ยังมีอีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังรุ่งโรจน์ในสถานการณ์เช่นนี้ นั่นก็คือธุรกิจการขนส่งสินค้านั่นเอง ดังนั้นยิ่งการใช้ตัวช่วยอย่าง api มาบริหารงาน ผู้ดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์สามารถวางระบบ api รวมเข้ากับเทคโนโลยีพื้นฐานอื่น ๆ ในการขนส่งเป็นการใช้การบูรณาการที่ทันสมัย ซึ่งทำให้การขนส่งจำนวนมากและคำสั่งซื้อจำนวนมาก เป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีความรวดเร็วมากที่สุด นอกจากนี้การใช้ระบบ api กับการขนส่งโลจิสติกส์ ยังครอบคลุมตั้งแต่…

  • การขนส่งบน ถนน, รถไฟ, มหาสมุทร และอากาศ
  • โหลดสินค้าให้เข้ากับการบรรทุก (TL), โหลดสินค้าน้อยกว่าการบรรทุก (LTL) และอื่น ๆ
  • ประเภทบริการหลายประเภท เช่น บริการขนส่งตามสัญญาเฉพาะ (DCC), การจัดการการขนส่งภายในประเทศ ,การจัดการการขนส่งระหว่างประเทศ, การเก็บข้อมูลคลังสินค้าและการจัดจำหน่าย
  • บริการเสริม เช่น พิธีการทางศุลกากร, การซื้อประกัน, การขนถ่ายสินค้าจากเรือ และอื่น ๆ

คุณคงพอเห็นภาพแล้วว่าการใช้ระบบการเชื่อมต่อ โซลูชันของ api นำมารวมเข้ากับการขนส่ง มีบทบาทสำคัญสำหรับผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์ที่ต้องการไม่เพียงแต่อยู่รอดท่ามกลางแข่งขันที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังขยายขอบเขตการบริหารงานที่ก้าวหน้ากว่าใครอีกด้วย

Patsy Holt

Patsy Holt