กฏหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการกู้ธนาคาร

เกี่ยวกับการกู้ธนาคาร

เมื่อถึงยามจำเป็น “การกู้เงินหรือการทำสินเชื่อ” ก็มักจะเป็นทางออกที่หลายๆ ท่านน่าจะเคยผ่านกันมาบ้างใช่มั้ยหล่ะครับ ซึ่งการกู้ยืมเงินแบบตามกฏหมายเป็นอะไรที่เหมาะสมมากกว่าการกู้เงินนอกระบบ เพื่อหากเราไปหวังพึ่งเงินกู้นอกระบบก็อาจจะทำให้คุณสี่ยงภัยทั้งด้านการเงินและชีวิตอีกด้วยครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “กฏหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการกู้ธนาคาร” กันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

สินเชื่อเป็นอย่างไร?

สินเชื่อ คือเงินที่กู้ยืมจากสถาบันการเงินซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โดยจะมีการทำหนังสือสัญญาข้อตกลงเงื่อนไขต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปตามที่สถาบันการเงินผู้ให้กู้สินเชื่อเป็นผู้กำหนด โดยมีผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยนั้นเองครับ

แล้วเงินกู้นอกระบบเป็นอย่างไร?

เงินกู้นอกระบบ คือ เงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ผ่านระบบของสถาบันการเงิน หรือไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง เป็นเงินกู้ที่ไม่มีระเบียบข้อบังคับใช้กับเจ้าหนี้ หรือบางครั้งต้นทางของเงินอาจมาจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น การพนัน ยาเสพติด หรือการฟอกเงิน เมื่อเรากู้นอกระบบ เงินที่ได้มาก็จะถือเป็นหนี้นอกระบบ

หนี้นอกระบบจะมีทั้งหนี้ระยะสั้น หรือรายวัน โดยเจ้าหนี้จะเก็บดอกเบี้ยรายวัน โดยบวกเข้าไปกับเงินต้นที่ต้องจ่ายแต่ละวัน และหนี้ระยะยาว ซึ่งมักเป็นการปล่อยกู้มากกว่า 1 เดือนขึ้นไป เจ้าหนี้จะเก็บดอกเบี้ยรายเดือนจนกว่าจะมีเงินต้นมาใช้คือ บางรายหากกู้เป็นจำนวนมากก็จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไว้ด้วย การกู้เงินนอกระบบมีข้อดีเด่นๆ เพียงข้อเดียวคือ ความสะดวก เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาหลายขั้นตอนเหมือนการกู้ผ่านสถาบันการเงิน จึงได้เงินง่ายและไวกว่า

กฏหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการกู้

เกี่ยวกับการคำนวนดอกเบี้ย

ในการกู้ยืมเงินกฎหมายให้คิดดอกเบี้ยกันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน กฎหมายได้กำหนดจำกัดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินไว้คือ ให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี (คืออัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน) ยกเว้นกรณีเป็นสถาบันการเงินหรือธนาคาร กฎหมายให้อำนาจเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปีได้ แต่ต้องเป็นไปตามประกาศข้อกำหนดของธนาคารซึ่งมีกฎหมายรองรับ(พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน) กรณีกำหนดดอกเบี้ยไว้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มีผลคือ
1.เป็นความผิดอาญาฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
2.ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นตกเป็นโมฆะทั้งหมด ฟ้องบังคับไม่ได้เลย (แต่เงินต้นยังคงสมบูรณ์)
3.ดอกเบี้ยที่ผู้กู้ยืมชำระไปแล้ว เรียกคืนไม่ได้ แม้ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะตกเป็นโมฆะ แต่สำหรับดอกเบี้ยผิดนัด ผู้ให้กู้ยืมก็ยังคงบังคับได้

อายุความฟ้องคดีกู้ยืมเงิน

การฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน มีอายุความ 10 ปีนับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน แต่หากสัญญากู้ยืมตกลงกันกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ เช่น รวมทั้งหมด 5 งวด จะเป็นกรณีที่คู่สัญญาได้ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ซึ่งจะมีอายุความเพียง 5 ปี

สิ่งที่ควรทำและข้อควรระวังเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

1.ห้ามลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเด็ดขาด
2.ก่อนลงลายมือชื่อในสัญญากู้ ต้องตรวจสอบจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาให้ถูกต้องและครบถ้วนตามจำนวนเงินที่ได้รับไป และในสัญญาต้องเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือกำกับไว้ด้วยเสมอ เช่น กู้ยืมเงินไปจำนวน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
3.อย่านำโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับการทำประโยชน์ในที่ดิน(น.ส.3)ไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันการกู้ยืมเงิน
4.สัญญาต้องทำอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยให้ผู้กู้ยืมถือไว้ด้วย 1 ฉบับ
5.ควรมีพยานฝ่ายผู้กู้ยืมลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาด้วยอย่างน้อย 1 คน
6.การชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องขอรับใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินซึ่งมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืมลงกำกับด้วยทุกครั้ง (เพื่อไว้เป็นหลักฐานยืนยันว่าได้ชำระหนี้แล้ว)
7.เมื่อชำระหนี้ทั้งหมดต้องขอสัญญากู้คืนจากผู้ให้กู้ยืมด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “กฏหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการกู้ธนาคาร” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันในบทความนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับทุกคนกันนะครับ

Patsy Holt

Patsy Holt